วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ครั้งที่7 วันที่ 28 กันยายน 2563

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

กิจกรรมที่ 1

           การนำเสนอเกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนรู้  ดังนี้

1.การจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคป

2.การจัดการเรียนแบบโครงการ

3.การจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่

4.การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

5.การจัดการเรียนรู้แบบSTEM

6.การจัดการเรียนรู้แบบวอลดรอฟ

หัวข้อที่ฉันได้รับมอบหมาย คือ การจัดการเรียนรู้แบบมอนเตอสซอรี่

"การจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่"

❤ที่มาของโรงเรียนแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่
            โรงเรียนแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori Method) คิดค้นและจัดตั้งขึ้นโดย แพทย์หญิงมาเรีย มอนเตสซอรี่ (Dr.Maria Montessori) ซึ่งมีปรัชญาว่าจิตที่เกิดมาพร้อมกับเด็กได้กำหนดลักษณะนิสัยของเด็กมาก่อน แต่สภาพแวดล้อมที่ดีที่เหมาะกับการเรียนสำหรับเด็ก จะช่วยส่งเสริมสิ่งที่เด็กมีอยู่ในตัว ดังนั้นการศึกษาในระยะเริ่มต้นของเด็กควรได้รับปลูกฝังให้เจริญเติบโตไปตามธรรมชาติและความต้องการของเขา ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็น

❤หลักการสอนแบบ มอนเตสซอรี่                 

          Montessori การสอนต้องตรงตามพัฒนาการของเด็กธรรมชาติของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการสอนจึงถูกพัฒนาให้สัมพันธ์กับพัฒนาการและความต้องการของเด็กแต่ละคน เพื่อให้เด็กได้รับความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

❤เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ส่วน

ช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ขวบ เป็นช่วงที่จิตซึมซับสิ่งแวดล้อมโดยไร้ความรู้สึก ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การมองเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การดมกลิ่น และการสัมผัส เด็กใช้จิตในการหาความรู้

❤การเรียนรู้ระยะแรก คือ สิ่งสำคัญ

          เป็นช่วงพัฒนาสติปัญญา เด็กสามารถเรียนทักษะเฉพาะอย่างได้ดีถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ คุณครูต้องช่างสังเกตและจัดการสอนที่เหมาะกับสมที่สุด

❤สิ่งแวดล้อมช่วยพัฒนาได้

          เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด เมื่ออยู่สภาพแวดล้อมที่ถูกจัดเตรียมไว้ทุกอย่างมีจุดหมาย มีอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่ ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามความคิดของตนเอง

❤เด็กคือศูนย์กลางในการเรียน

          เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเรียนรู้ระเบียบวินัยของการชีวิตอีกทั้งมีอิสรภาพในการทำงานและแก้ไขข้อบกพร่องด้วยตนเองได้

❤จุดเด่นและกิจกรรมแนวการสอนแบบ มอนเตสซอรี่

          1.เน้นกิจกรรมมากกว่าความรู้ในตำรา เด็กเล็กจะเรียนด้วยร่างกายทั้งหมดเน้นไปที่การฝึกประสาทสัมผัส ทุกกิจกรรมหรืองานที่เด็กทำจะต้องมีความหมาย

          2.เด็กเรียนรู้ผ่านมือของตนเอง เด็กจะได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านการใช้สื่อและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยให้เด็กเข้าใจง่าย โดยหลักสำคัญของโรงเรียนมอนเตสซอรี่ คือ “มือ” เพราะเด็กสามารถเรียนรู้ทุกอย่างผ่านมือของตัวเองได้ ทางพ่อแม่และคุณครูจะเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้และทำทุกอย่างด้วยตัวเอง เด็กจะมีอิสระในการหยิบจับมากขึ้น

          3.มีอุปกรณ์การสอนที่ครบครัน ภายในโรงเรียนมีอุปกรณ์ความรู้ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กอย่างครบครัน ทั้งหมดนี้เพื่อฝึกให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทุกอุปกรณ์มีตั้งแต่ง่ายไปจนถึงยาก เพื่อให้เด็กได้ฝึกเล่นตามพัฒนาการ การเรียนรู้ของแต่ละคน        

          4.เด็กเติบโตไปอย่างธรรมชาติ เด็กจะเติบโตและก้าวหน้าไปตามธรรมชาติของวัย มีอิสรภาพในการเลือกทำสิ่งต่างๆ มีความรับผิดชอบมากขึ้น และรู้จักที่จะรอคอย

          5.เด็กมีพื้นฐานทางสังคมที่ดี เด็กได้รับการฝึกให้มีคุณภาพพื้นฐานทางสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นพลเมืองดี มีสติปัญญา ความสามารถในการแยกแยะ ความคิดริเริ่ม และการเลือกอย่างอิสระ มีอารมณ์ที่เหมาะสม และเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ

❤กิจกรรมมอนเตสซอรี่ มี 3 กลุ่ม

- กลุ่มประสบการณ์ชีวิต 

          ฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัย มีสมาธิ เป็นตัวของตัวเอง และได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก

- กลุ่มประสาทสัมผัส

          ฝึกให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้สัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม

- กลุ่มวิชาการ (คณิตศาสตร์และภาษา) 

          ปูพื้นฐานความรู้เรื่องจำนวนตัวเลขการอ่านและการเขียน เด็กจะได้เรียนรู้อย่าเป็นขั้นตอนจากรูปธรรมสู่นามธรรม โดยใช้อุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่ เป็นสื่อ

 


                                                     
                                                        ❤รูปภาพบรรยากาศในห้องเรียน❤







ประเมินตนเอง

                ตั้งใจในการนำเสนอและพยายามหาคำตอบจากคำถามที่อาจารย์ถามกลับมา

ประเมินเพื่อน

                เพื่อนๆทุกคนมีความพร้อมในการนำเสนอ และทำออกมาได้ดีทุกกลุ่ม

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ตั้งใจฟังในสิ่งที่นักศึกษาได้นำเสนอ และ มี คำถามมาคอยกระตุ้นให้ได้คิดหาคำตอบ ในบางเนื้อหาที่ยังไม่ตรง ประเด็นและยังไม่ครบถ้วน โดยอาจารย์จะไม่บอกคำตอบโดยตรงแต่จะ ให้เป็นคำถามเพื่อให้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น