วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

TEACING EXAMPLE

 

TEACING  EXAMPLE


การศึกษาปฐมวัยในแนววอลดอร์ฟนั้น เชื่อว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพภายในตัวเอง พ่อแม่ ครู มีหน้าที่ในการเป็นต้นแบบที่ดี คอยให้ความรัก และเปิดโอกาสให้เขาค่อย ๆ เรียนรู้เรื่องราวที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยของเขา เด็กที่เรียนในแนวคิดวอลดอร์ฟ จะเกิดการพัฒนาทั้ง ความจริง ความงามและความดี พวกเขาจะมีศักยภาพพร้อมจะเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต



วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ครั้งที่ 14วันจันทร์ ที่ 16 พฤศจิกายน 2653

 

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14



กิจกรรมที่ 1


กิจกรรมในวันนี้เป็นการสรุปความรู้ทั้งหมดที่ได้ เรียนมา

โดยอาจารย์ทำการแจกกระดาษให้นักศึกษาทุกคน คนละ 2 แผ่น

 จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนเขียนประเด็นสำคัญ

“ 6 กิจกรรมหลัก ว่าแต่ละกิจกรรมมีประเด็นสำคัญอะไรบ้าง

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยมีดังนี้


    1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ
    2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตาม ความรู้สึกและความสามารถของตนเอง
    3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการ เล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
    4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้
    5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณ กลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
    6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน

อ้างอิง : https://sites.google.com/site/suwimonchild/n

 กิจกรรมที่ 2


โจทย์ :ให้นักศึกษาคิดกิจกรรมที่สอดคล้องกับ

สภาพที่พึงประสงค์ ” ที่อาจารย์กำหนด


 กิจกรรมที่ 3 


โจทย์ : ให้นักศึกษาคิดวัตถุประสงค์

ที่สอดคล้องกับตัวอย่างกิจกรรมการสอนที่อาจารย์กำหนดมาให้




ครั้งที่ 13 วันจันทร์ ที่ 09 พฤศจิกายน 2653

 

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13


กิจกรรมที่ 1

การวิเคราะห์ แผนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม

เพื่อการปรับปรุงแก้ไขในส่วนต่างๆและให้นักศึกษาในแต่ละกลุ่ม

ได้นำเอาคำแนะนำไปปรับใช้ในการจัดทำแผนการสอนในครั้งต่อๆไป





















ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียน และช่วยเพื่อนตอบคำถามอาจารย์

ประเมินเพื่อน

เพื่อน ๆ มีความตั้งใจเรียน ช่วยกันแก้ไขปัญหาร่วมกัน และช่วยกันตอบคำถามอาจารย์

ประเมินอาจารย์

อาจารย์อธิบาย และให้คำแนะนำได้ละเอียด มีความ เป็นกันเอง มีการยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนมากขึ้น

 


วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

INTRODUCE MY SELF



Name: Phanthipa mamui

Nickname:  Aomsin

Identification number: 6011200687   N0. 5

Bachelor's degree: Early Childhood,

Faculty of Education, Chandrakasem Rajabhat University




RESEARCH

 

การพัฒนาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย

โดยใช้กิจกรรมฝึกคิดตามแนวคิดของเดอโบโน

❤ ตัวแปรที่ศึกษา ❤

1. ตัวแปรอิสระ  การจัดกิจกรรมฝึกคิดตามแนวคิดของเดอโบโน

2. ตัวแปรตาม  ได้แก่ ทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย การการคิดวิเคราะห์การคิดสังเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์

❤ จุดมุ่งหมาย ❤

ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมฝึกคิดตามแนวคิดของเดอโบโน โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะ ดังนี้

เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมฝึกคิดตาม

แนวคิดของเดอโบโน ในภาพรวมและจำแนกรายด้าน ได้แก่

- ด้านการคิดวิเคราะห์

- การคิดสังเคราะห์

- การคิดสร้างสรรค์

❤ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ❤

เด็กนักเรียนชาย หญิง อายุ 4 5 ปี เรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปี

การศึกษา 2548 โรงเรียนอนุบาลเปล่งประสิทธิ์สายลม ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จับฉลากมา 1 ห้องเรียน

กิจกรรมฝึกคิดตามแนวคิดของเดอโบโน หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กได้ฝึกคิด โดยใช้หัวข้อเรื่องที่ได้จากการวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ในส่วนสาระที่ควรรู้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 หัวข้อ หัวข้อละ 3 เรื่อง ในแต่ละเรื่องจะให้เด็กได้ปฏิบัติการฝึกคิดเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่

ขั้นที่ 1 กำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นที่ครูใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กช่วยกันกำหนดเป้าหมายของการคิดว่าต้องการคำตอบอะไร หรือเป้าหมายปลายทางที่ต้องการคืออะไร

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล เป็นขั้นที่ครูใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กช่วยกันมองหาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่คิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับคำตอบให้ได้มากที่สุด

ขั้นที่ 3 ความน่าจะเป็น เป็นขั้นที่ครูใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กช่วยกันนำข้อมูลที่ได้มาแต่ละข้อ มาช่วยกันพิจารณาถึงความเป็นไปได้ หรือมีข้อเสนอแนะอะไรเพิ่มเติม หรือมีอะไรที่เป็นความคิดแปลกใหม่ แล้วตัดสินใจเลือกวิธีที่เห็นว่าดีที่สุด และทดสอบความคิดโดยลงมือปฏิบัติ

ขั้นที่ 4 การทำให้ดีขึ้น เป็นขั้นที่ครูใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กช่วยกันประเมินผลการปฏิบัติว่าดีหรือไม่ ควรปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง และเปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองแนวคิดใหม่

ขั้นที่ 5 ตกลงใจด้วยเหตุผล เป็นขั้นที่ครูใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กช่วยกันตัดสินใจเลือกวิธีที่ชอบด้วยการพิจารณาอย่างมีเหตุผล

☺สรุป☺

กิจกรรมฝึกคิดตามแนวคิดของเดอโบโนสามารถช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เด็กปฐมวัยได้ ทั้งในด้านการคิดยืดหยุ่น การคิดคล่อง และการคิดริเริ่ม ดูได้จากผลการพัฒนาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมฝึกคิดตามแนวคิดของเดอโบโน ทำให้เด็กมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยก่อนการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยในเกณฑ์ควรปรับปรุงและผลหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยในเกณฑ์ดี

                                                      อ้างอิง

                                                    http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Ratchada_C.pdf

THE ARTICLE

 

Active Learning กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 

การเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) เป็นการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะความคิดระดับสูงอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้เรียนวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินข้อมูลในสถานการณ์ใหม่ได้ดีในที่สุดจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจจนสามารถชี้นำตลอดชีวิตในฐานะผู้ฝักใฝ่การเรียนรู้ ธรรมชาติของการเรียนรู้แบบ Active Learning ประกอบด้วยลักษณะสำคัญต่อไปนี้

1. เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งลดการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียนให้น้อยลงและพัฒนาทักษะให้เกิดกับผู้เรียน

2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนโดยลงมือกระทำมากกว่านั่งฟังเพียงอย่างเดียว

3. ผู้เรียนมีส่วนในกิจกรรมเช่นอ่านอภิปรายและเขียน

4. เน้นการสำรวจเจตคติและคุณค่าที่มีอยู่ในผู้เรียน

5. ผู้เรียนได้พัฒนาการคิดระดับสูงในการวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินผลการนำไปใช้และ

            6. ทั้งผู้เรียนและผู้สอนรับข้อมูลป้อนกลับจากการสะท้อนความคิดได้อย่างรวดเร็ว

        การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง การเรียนวิชาในห้องเรียนยังเป็นการเรียนแบบสมมติ

ดังนั้นครูเพื่อศิษย์จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้เรียนในสภาพที่​ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด  ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ของศิษย์จากเน้นเรียนวิชาเพื่อได้ความรู้  ให้เลยไปสู่การพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อชีวิตในยุคใหม่ ย้ำว่าการเรียนรู้ยุคใหม่  ต้องเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งหน้าที่ของครูเพื่อศิษย์จึงต้องเปลี่ยนจากเน้น สอนหรือสั่งสอนไปทำหน้าที่จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ (inspire) แก่ศิษย์ ให้ศิษย์ได้เรียนจากการลงมือปฏิบัติ (learning  by  doing) และศิษย์งอกงามทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 นี้ จากการลงมือปฏิบัติของตนเป็นทีมร่วมกับเพื่อนนักเรียน เน้นการงอกงามทักษะในการเรียนรู้ และค้นคว้าหาความรู้มากกว่าตัวความรู้ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแนวทางการทำงานจากทำโดดเดี่ยว      คนเดียว เป็นทำงานและเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูเป็นทีม กระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มี 3 ลักษณะ คือ

1. กระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ

2. กระบวนการเรียนรู้ผ่านการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

            3. การเรียนรู้แบบขั้นบันได(IS)

 อ้างอิง : อาจารย์เยาวเรศ  ภักดีจิตร 

http://apr.nsru.ac.th/Act_learn/myfile/27022015155130_article.docx

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ครั้งที่ 12 วันที่ 02 พฤศจิกายน 2563

  บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12



กิจกรรมที่ 1

                                                     ✿  กิจกรรมวันนี้มีทั้งหมด 3 กลุ่ม 

                                          …?... เป็นของใช้

                                          …?... เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า

                                          ฉันชอบกิน …?...



  กลุ่มฉันได้ทำรูปเล่ม ในหัวเรื่อง อะไร ? เป็นของใช้












อะไร …?... เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า



 ฉันชอบกิน …?...อะไร










กิจกรรมที่ 2

                พูด-คุย เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนแผนและแจกแผนการสอนที่ได้ส่งในคาบที่แล้วเพื่อ

นำมาแก้ไขให้ถูกต้องตามคำแนะนำของอาจารย์  พร้อมส่งไฟล์ที่แก้ไขแล้วให้อาจารย์ตรวจ